กระดานข่าว
สมัครสมาชิก | Login เข้าสู่ระบบ
Administrator: เพื่อเป็นการป้องกันการโพสต์ข้อความขยะก่อกวนกระดานข่าว จากผู้ที่ไม่หวังดี กรุณา! สมัครสมาชิก หรือ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนการเข้าใช้งานกระดานข่าว
ประชาสัมพันธ์ กระดานข่าวเปิดให้บริการแล้ว
ประชาสัมธ์ ^_^ เรียนทุกท่าน ขณะนี้กระดานข่าวเปิดให้บริการแล้ว หลังจากที่ได้ใช้เวลาพัฒนาอยู่นาน สุดท้ายก็สามารถเปิดให้บริการได้เป็นผลสำเร็จ สำหรับท่านใดที่ต้องการเข้าใช้บริการกระดา ...
แสดงทั้งหมดแสดง ข้อความกระดานข่าว ทั้งหมด
บทบาทผู้นำของท่านนบี

ครูหมัด
เมื่อวันที่: 17 ม.ค 2555
เวลา: 09:11:31
การบริหารงานบุคคลตามหลักการศาสนาอิสลาม โดยใช้หลักที่ว่า
“การครองตน ครองคน และครองงาน”



การครองคน
โดย อ. อรุณ บุญชม

อิสลามมีหลักในการครองคนดังต่อไปนี้ โดยอาศัยบุคลิกภาพของท่านศาสดา ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานว่า
{ فَبِمَا رَحْمَةٍ مِّنَ اللَّهِ لِنتَ لَهُمْ وَلَوْ كُنتَ فَظًّا غَلِيظَ الْقَلْبِ لاَنفَضُّواْ مِنْ حَوْلِكَ فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاسْتَغْفِرْ لَهُمْ وَشَاوِرْهُمْ فِي الأَمْرِ فَإِذَا عَزَمْتَ فَتَوَكَّلْ عَلَى اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُتَوَكِّلِينَ } آل عمران : 159

“ เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์ เจ้าจึงเป็นผู้ที่สุภาพอ่อนโยนต่อพวกเขา
และ ถ้าหากเจ้าเป็นผู้ที่มีความหยาบคาย และมีใจแข็งกระด้างแล้ว แน่นอนพวกเขาก็คงปลีกตัวออกไปจาก เจ้า
ดัง นั้นเจ้าจงให้อภัยพวกเขา จงวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกเขา จงปรึกษาหารือกับพวกเขาในการทำงาน
และ เมื่อพวกเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายความสำเร็จให้แก่อัลลอฮ์เถิด
เพราะ ความจริงอัลลอฮ์ทรงโปรดปรานผู้มอบหมายทั้งหลาย”
(อาละอิมรอน 159)


(1) ความสุภาพอ่อนโยน (الرفق)
ไม่ใช้วาจาหยาบคาย ท่านศาสดามุฮัมมัด จะเป็นผู้ที่มีความสุภาพอ่อนโยน ต่อคนรอบข้างทุกคน ท่านไม่เคยใช้วาจาหยาบคายกับผู้ใด ท่านไม่เคยดุว่าคนรับใช้ ท่านไม่เคยตำหนิอาหารหากท่านชอบ ท่านจะรับประทาน หากท่านไม่ชอบท่านก็จะไม่รับประทาน ท่านจะกล่าวสลามทักทายเด็กๆ เมื่อท่านเดินผ่านพวกเขา ท่านได้กล่าวแก่อาอิชะห์ภรรยาของท่านว่า
( إِنَّ اللَّهَ رَفِيقٌ يُحِبُّ الرِّفْقَ ، وَيُعْطِي عَلَى الرِّفْقِ مَا لاَ يُعْطِي عَلَى الْعُنْفِ) رواهُ مُسْلِم

“ อัลลอฮ์ สุภาพอ่อนโยน ทรงรักความสุภาพอ่อนโยนพระองค์จะมอบให้แก่ความอ่อนโยน อย่างที่ไม่เคยมอบให้แก่ความรุนแรง”
(รายงาน โดยมุสลิม)


(2) ความเมตตาสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (الرحمبة)
ท่านศาสดามุฮัมมัด เป็นผู้ที่มีใจกรุณา เมตตาและสงสารผู้อื่น มีหญิงชราชาวเมืองมะดีนะห์พาท่านไปที่บ้านเพื่อให้ท่านทำธุระให้แก่นาง ซึ่งท่านก็ไปทำให้แต่โดยดี ด้วยความสงสาร ท่านได้กล่าวเตือนผู้เป็นนายว่า จะต้องไม่บังคับใช้งานบ่าวในสิ่งที่เกินกำลังความสามารถ และท่านได้กำชับผู้เป็นนายให้ให้อาหารและเครื่องนุ่งห่มแก่บ่าว ด้วยอาหารและเครื่องนุ่งห่มที่นายรับประทานและสวมใส่ ท่านได้เตือนนักปกครองที่ใช้มาตรการรุนแรงและสร้างความยุ่งยากไว้ในคำวิงวอน ของท่านว่า
“ ข้าแด่อัลลอฮ์ ผู้ใดที่ปกครองประชาชนของฉันในเรื่องหนึ่ง แล้วเขาทำให้ประชาชนต้องยุ่งยากลำบาก ขอพระองค์จงให้เกิดความยุ่งยากลำบากแก่เขา”
แม้กระทั่งในเรื่องสัตว์ท่านได้กล่าว ผู้เอาน้ำให้สุนัขที่กระหายน้ำว่าอัลเลาะห์ขอบคุณเขาและให้เขาได้เข้า สวรรค์ แล้วมีผู้ถามท่านว่า
( وإن لنا في البهائم لأجراً.فقال : في كل ذات كبد رطبة أجر ). متفق عليه
“ พวกเราจะได้รับผลบุญในการการทำความดีแก่สัตว์หรือ? ท่านตอบว่า "การทำความดีแก่สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็น มนุษย์หรือสัตว์ ได้รับผลบุญทั้งสิ้น”
และท่านได้กล่าว่า
(دخلت امرأة النار في هرة حبستها فلم تطعمها ولم تدعها تأكل من خشاش الأرض) متفق عليه

“หญิงคนหนึ่งเข้านรกในเรื่องแมวที่นางได้ กักขังมันไว้ โดยไม่ให้อาหารและไม่ปล่อยมันให้จับสัตว์เป็นอาหารเอง”

(3) การให้อภัยไม่ถือโทษ (العفو)
อัลลอฮ์ บัญชาใช้ ให้อภัยไม่ถือโทษ และนับว่าการให้อภัยเป็นอาวุธของผู้ที่เข้มแข็งโดยพระองค์ได้ตรัสว่า
آل عمران : 131 {وَسَارِعُواْ إِلَى مَغْفِرَةٍ مِّن رَّبِّكُمْ} “ และพวกเจ้าจงรีบเร่งไปสู่การอภัยจากองค์อภิบาลของพวกเจ้า”
อัลลอฮ์ ทรงเชิญ ชวนบ่าวของพระองค์สู่การให้อภัย พระองค์ตรัสว่า
{ خُذِ الْعَفْوَ وَأْمُرْ بِالْعُرْفِ وَأَعْرِضْ عَنِ الْجَاهِلِينَ } الأعراف : 199

“ (โอ้ มูฮัมมัด) เจ้า จงยึดถือไว้ซึ่งการให้อภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ดีงาม และจงผินหลังให้แก่ผู้โฉลดเขลาทั้งหลายเถิด”
{ وَالْكَاظِمِينَ الْغَيْظَ وَالْعَافِينَ عَنِ النَّاسِ وَاللّهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ {آل عمران : 134

และพระองค์ตรัสว่า
“(บรรดาผู้ยำ เกรง) คือบรรดาผู้ข่มโทสะ และบรรดาผู้ให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ และอัลลอฮ์ นั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย ”
ท่านอับดุลเลาะห์ บุตรมัสอูด กล่าวว่า : ฉันมองดูท่าน นะบีมูฮัมมัด ขณะท่านกำลังเล่าถึงนบีท่านหนึ่งที่ถูกพวกพ้องของพวกเขาทำร้ายจนเลือดออก เขาใช้มือลูบเลือดที่เปื้อนใบหน้า พลางก็กล่าวว่า :
( اللهم اغفر لقومي فإنهم لا يعلمون) رواه البخاري
“ ข้าแด่องค์อภิบาลได้โปรดให้อภัยแก่พวกพ้องของฉันด้วยเถิด เพราะความจริงพวกเขาไม่รู้”

อิสลามอบรมมุสลิมให้ยึดถือความหมายอันยิ่งใหญ่และสูงส่งนี้จนถึงกับทำให้ ท่าน อุมัร อิบนุ คอตตอบ กล่าวว่า “ ประชาชนของฉันทุกคนได้รับการอภัยจากฉัน”
ในความหมายเดียวกันนี้ เราจะรู้สึกได้ในคำพูดของอิบนุมัสอูด ขณะที่เขานั่งอยู่ในตลาดเพื่อซื้ออาหาร เมื่อเขาต้องการจะจ่ายเงินค่าอาหาร เขาพบว่ามันได้ถูกขโมยไปเสียแล้ว ประชาชนเมื่อทราบเช่นนั้นก็ประกาศหาตัวคนที่ขโมยเงินของเขาไป อับ ดุลเลาะห์ บุตร มัสอูด ได้ยกมือวิงวอนว่า :
“ข้าแด่อัลเลาะห์ ถ้าหากความจำเป็น เป็นแรงผลักดันให้เขาต้องเอาเงินไป ขอพระองค์ได้โปรดเพิ่มพูนมันแก่เขา
แต่ถ้าหากเขาเอามัน ไปโดยไม่เกรงกลัวบาป ขอพระองค์ได้โปรดให้มันเป็นบาปสุดท้ายของเขาด้วยเทอญ”
คนที่ให้อภัยผู้อื่นย่อมเป็นผู้ที่มีจิตใจสูงส่ง และงดงาม มีความมุ่งมั่นสูง มีขันติธรรม และมีความอดทน มุอาวิยะห์ ได้กล่าวว่า :
“พวกท่านจงมีความ ขันติธรรม และอดทน จนกว่าพวกท่านจะมีโอกาส และเมื่อพวกท่านมีโอกาส พวกท่านจงให้อภัย และให้ความกรุณา”


(4) ประชุมปรึกษาหารือ (المشاورة)
อัลลอฮ์ ได้บัญชา ให้ท่านนบีมุฮัมมัด ประชุมปรึกษาหารือกับเพื่อร่วมงาน ดังมีความว่า
{وَشَاوِرْهُمْ فِي الأَمْرِ } آل عمران : 159 “ จงปรึกษาหารือกับพวกเขาในการทำงาน”
และยังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน อีกว่า
{وَأَمْرُهُمْ شُورَى بَيْنَهُمْ} الشورى : 38 “ และกิจการงานของพวกเขาคือการปรึกษาหารือกันในหมู่พวกเขา”
ประโยชน์ของการประชุม ปรึกษาหารือก็คือผู้ร่วมงานทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและนำเอาแนวทางที่ดีที่ สุดหรือมติในที่ประชุมนั้นไปปฏิบัติ ผู้ร่วมงานทุกคนจะมีความรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในแนวทางนั้นหรือมตินั้น ก็จะเกิดความร่วมมือในการผลักดันให้งานนั้นบรรลุความสำเร็จ


(5) ตัดสินใจและมอบหมายความสำเร็จให้แก่อัลลอฮ์ (العزم والتوكل)
เมื่อทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุมปรึกษาหารือและตัดสินใจร่วมกันแล้ว ก็ให้มอบหมายความสำเร็จนั้นไว้ในอำนาจของอัลลอฮ์ พระองค์ ได้ตรัสไว้ว่า
{ وَمَنْ يَتَوَكَّلْ عَلَى اللَّهِ فَهُوَ حَسْبُهُ } الطلاق : 3 “ผู้ใดมอบหมายความสำเร็จในการทำงานไว้ให้แก่อัลเลาะห์ พระองค์ผู้เดียวก็พอแล้วสำหรับเขา”
โดยเพื่อนร่วมงานทุกคนมุ่งมั่นทำงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ และถ้าหากงานนั้นเกิดความล้มเหลว ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่อัลเลาะห์ได้กำหนดไว้เช่นนั้น ก็จะไม่เสียใจและหมดหวัง แต่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยความอดทน และฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆอย่างถึงที่สุด


แสดงความคิดเห็น
กรุณา! Login เข้าสู่ระบบ
ระบบ รับ-ส่ง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-office)

อ่าวนางปริ้นซ์วิลล์ รีสอร์ท
สถานีกระจายเสียงสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกระบี่
สมาคมสตรีมุสลิมจังหวัดกระบี่
อินซานโพสต์ สื่อสร้างสรรค์ สร้
วีดีโอ แนะนำ
ร่วมรับนายกรัฐมนตรี มูอาส มุสตอฟา สานสัมพันธ์  ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 1 เมาลิดกลางกระบี่ 34
Web Links
สนง. คณะกรรมการอิสลาม กทม.
มัสยิดกระบี่
อัฟยอด
อิสลามแห่งประเทศไทย
สมาคมสตรีมุสลิมจังหวัดกระบี่
สนง. คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกระบี่
ที่ตั้งหมู่ที่ 2 ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000
โทรฯ: 075-700324 แฟกซ์: 075-700324 อีเมล: contact@ick.or.th

Visitors start on October, 2011
Developed By Mr.Boonkerd Jitman
administrator
The Islamic Committee Of Krabi
Moo 2, T.Saithai, A.Muang, Krabi Thailand 81000
Tel: 075-700324 FAX: 075-700324 E-Mail: contact@ick.or.th